Sunday, September 12, 2010

วันที่ 5 ของการนัดหยุดงานที่โรงงานทออวนเดชาพาณิชย์ จังหวัดขอนแก่น

12 กันยายน 2553

วันที่ 5 ของการนัดหยุดงานที่โรงงานทออวนเดชาพาณิชย์ จังหวัดขอนแก่น

ยังไม่มีใครรับฟังข้อเรียกร้องของแรงงานกว่าพันคนจากโรงงานทออวนเดชาพาณิชย์ จังหวัดขอนแก่น นายจ้างยังไม่ยอมมานั่งเจรจากับแรงงาน ทั้งๆที่ข้อเรียกร้องของแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานและเป็นไปตามข้อกฎหมายไทยทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามนายจ้างกลับได้เพิ่มจำนวนคนคุมแรงงานในโรงงาน โดยนายจ้างเจ้าของโรงงานทออวนแห่งนี้ได้ใช้แรงงานพม่าจำนวนหนึ่งที่ทำงานในโรงงานให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือคนคุมแรงงานผู้ได้รับมอบหมายให้รักษาความปลอดภัยท่ามกลางภาวการณ์ทำงานและการอยู่อาศัยอันแออัดของแรงงานจำนวนนับพันคน โดยแรงงานที่กำลังนัดหยุดงาน รายงานว่าแรงงานที่ถูกมอบหมายให้รักษาความปลอดภัยเหล่านี้ได้รับมอบให้ถือปืนและมีดด้วย แรงงานที่กำลังนัดหยุดงานเกรงว่าการทำให้แรงงานข้ามชาติเป็นศัตรูต่อกันเองแบบนี้อาจก่อให้เกิดความโกลาหลได้ทันทีหากแรงงานรักษาความปลอดภัยผู้ไม่ผ่านการอบรมด้านมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้เกิดขาดสติขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ได้มีข่าวเล็ดรอดออกมาจากโรงงานแล้วว่าแรงงานบางส่วนถูกทำร้ายร่างกาย

เวลาประมาณ 18.00 น. ของเย็นวันที่ 10 กันยายน ได้มีกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปในโรงงาน และแรงงานเชื่อว่าจนท.กลุ่มนี้มาจากกรมการจัดหางาน โดยจนท.ดังกล่าวได้ยื่นข้อเสนอที่จะทำให้เอกสารต่างๆ ของแรงงาน 5 คนที่ถูกไล่ออกจากงานและเอกสารของพวกเขาถูกยกเลิกหรือถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม อย่างไรก็ตามแรงงานรู้สึกหวั่นเกรงว่าการแก้ไขที่เจ้าหน้าที่เหล่านี้กล่าวถึงอาจจะไม่ใช่การกระทำที่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่รัฐมี รวมทั้งการขีดฆ่า หรือการเขียนอะไรก็ตาม ลงในหนังสืออนุญาตเดินทางของพวกเขาอาจทำให้หนังสือเดินทางของพวกเขาใช้การไม่ได้ในสายตาของรัฐบาลพม่า นอกจากนั้นบัตรประจำตัวแรงงานทำงานต่างประเทศของพวกเขานั้นก็ออกให้โดยกระทรวงแรงงานในประเทศพม่าซึ่งหมายความว่าเอกสารเหล่านี้จะสามารถออกใหม่ได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่าเท่านั้น ดังนั้นแรงงานจึงร้องขอให้มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตพม่าเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าทางสถานทูตพม่าได้รับการติดต่อแล้วหรือยัง หรือว่าทางสถานทูตฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนของตนหรือไม่ ทางฝ่ายนายจ้างได้บอกแก่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ว่าพวกเขาอาจสามารถนัดหยุดงานได้จนถึงวันอาทิตย์ และแรงงานฯ จะต้องกลับเข้าทำงานในวันจันทร์แต่ นายจ้างยังไม่ได้แจ้งแก่แรงงานว่า นายจ้างมีแผนที่จะตอบรับต่อข้อเรียกร้องของแรงงานอย่างไรรวมทั้งยังไม่ได้แจ้งแรงงานว่าหากแรงงานไม่กลับเข้าทำงานในวันจันทร์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ในเว็บไซต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานทออวนเดชาพาณิชย์(DFN)ได้มีการกล่าวอ้างว่า โรงงานทออวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในโรงงานทออวนไนลอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีแรงงานผู้เปี่ยมด้วยประสบการณ์มากกว่า 4,000 คน และมีกำลังการผลิต 250 ตันต่อเดือน รวมทั้งได้ส่งออกอวนไนลอนไปยังประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศ รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา, ฟินด์แลนด์, เดนมาร์ก, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, สเปน, กรีซ, อิตาลี, กัวเตมาลา, เม็กซิโก และประเทศแคนาดา เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ www.mapfoundationcm.org



September 11th 2010

4th day of strike at the Dechapanich Fishing Net Factory, Khon Kaen

The demands of the 1,000 striking workers at the Dechanpanich Fishing Net Factory in Khon Kaen continue to fall on deaf ears. The employer has made no moves to sit down and negotiate with the workers, despite their demands being very basic and in total compliance with Thai law. Instead, the employer has increased the number of security personnel in the grounds. The employer of the fishing net factory uses fellow factory workers to be security guards, entrusted to keep security among the thousands of workers in their crowded living and working conditions. The striking workers report that these security guards have been given knives and guns. Pitting migrant against migrant, the striking migrants are afraid that pandemonium may break out if these untrained security guards let loose on them. Already reports are filtering out of the factory of beatings.

At 6pm last night, some officials visited the factory, the workers believe they were from the Department of Employment. The officials offered to correct the documents of five of the workers who had been sacked and whose documents had been cancelled or changed. However, the migrants were fearful that these changes may not be authorized and any further deleting or writing in their passports may make them invalid in the eyes of the Burmese authorities. And the Burmese Overseas Workers ID was issued by the Ministry of Labour in Burma and therefore needed the Burmese authorities to replace them. The workers therefore asked for the officials from the Burmese embassy to be present. It is uncertain if the Burmese embassy has been contacted or whether they intend to provide any assistance to their citizens.

The employer has told the migrants that they may strike until Sunday, and they must return to work on Monday but they have not informed the workers of how they intend to meet the workers demands. Nor have they informed them of what will happen if the workers do not return to work.

According to a trading company website, Dechapanich Fishing Net Factory (DFN) boasts that it is one of the largest Nylon Fishing net factories in the world with more than 4,000 experienced employees and a production capacity of 250 tons per month. It exports to over 40 countries including USA., Finland, Denmark, Australia, Japan, Spain, Greece, Italy, Guatemala, Mexico, Canada etc.

For further information please contact www.mapfoundationcm.org


Friday, September 10, 2010

Support the right to STRIKE & the right to have their grievances heard; Burmese workers in Khon Kaen,Thailand from MAP Foundation

10th September 2010

Press Release: Over 1000 Workers Continue the 3rd Day of Strike at Fishing Net Factory

Holding a temporary passport has given no protection of the rights of Burmese workers at the Dechapanich Fishing Net Factory in Khon Kaen. The workers have to work one and a half hours free every day from 5.00pm to 6.30pm to pay off the cost of the passport and are not allowed to maintain possession of their passports. When six workers were fired for taking more than three days leave a month, they demanded the return of their personal documents, and found that the word “cancel” had been casually written next to their visa. In addition, their Overseas Workers Identification Card, issued by Ministry of Labour, Union of Myanmar, had clearly been tampered with as the photos and information were non-matching and the stamps were not continuously drawn. They are now facing imminent deportation, endorsed by the employer, the Labour Protection Office and the Department of Employment.

Over 1,000 Burmese workers in the factory have been out on strike since September 8th in support of these six workers and to negotiate other long term grievances. The workers have four major demands:

1. For the visas of the six workers to be re-instated and for their Overseas Workers ID cards to be verified.

2. For all workers to have possession over their personal documents, including passports, Overseas Workers ID cards and work permits, as is required by law.

3. For the shops in their labour camp to be re-opened.

4. Proper payment of the minimum wage and overtime in compliance with the labour laws. An immediate end to the system of bonded labour (working for one and a half hours free each day for a year).

The workers have been unable to meet the employer to negotiate their demands. At a meeting held between the Labour Protection Office, the employer and the immigration and MAP, the demands of the workers were presented but no agreements were reached. The employer insisted that the immigration authorities had cancelled the workers visas and they were therefore unable to work and must be deported. In actual fact, in order for immigration to cancel a visa, the employer must inform the Labour Protection Office which must then officially inform the immigration department. Any cancellation must include a reason and the signature of the authorizing officer. In this case, only the word “cancel” was written next to the two year visa.

Regarding the second demand, the employer tried to justify the act of illegally confiscating personal documents by saying that the workers might otherwise leave before they had paid off their debt, thus endorsing a system of debt bondage. He also said that it was easier for the employer to arrange the 90 day regulation, requiring all migrants to report to immigration authorities every 90 days. In a meeting earlier in the day with the local Department of Employment, they had also given the same explanation despite the confiscation of personal documents being an illegal act.

Regarding the third demand, the employer insisted that the workers received more than the minimum wage and claimed not to be aware of the work for free passport payment system. While the workers claimed that they receive only 140 baht a day (minimum wage in Khon Kaen is 157 baht), work for one and a half hours for free, then receive overtime payment of 30 baht an hour.

Over 1,000 workers continue to strike for their demands to be answered. They understand that an official from the Burmese embassy is on their way to Khon Kaen, but it is not yet known whether this official will assist in negotiating for the rights of the workers or if he will conduct the deportation of the workers. MAP Foundation has made an official request to the Committee on the Administration of Irregular Workers, Ministry of Labour, Thailand to ensure that the migrant workers are not unlawfully deported and that their case is investigated, particularly with reference to the unauthorized cancellation of their visas and the tampering of their overseas identification Cards of the workers.

MAP Foundation is concerned for the safety of all the workers in the Dechapanich Fishing Net Factory and in particular for the safety of the six leaders. The regularization of migrants through the issuing of passports and visas should provide protection to workers, but it appears to be used as a method of control and further exploitation. The workers have the right to strike and the right to have their grievances heard, the Ministry of Labour should be actively working to ensure that this right is being adhered to throughout Thailand.

For further information please contact:

Suriya (Thai): 0897581850

Mai Mai (Burmese): 0856159653

Reena (English): 0828955480


10 กันยายน 2553

เอกสารสำหรับสื่อมวลชน: แรงงานกว่า 1,000 คนยังคงหยุดงานประท้วงเป็นวันที่ 3 แล้วที่โรงงานทออวน

การมีหนังสืออนุญาตเดินทางชั่วคราวไม่ได้ให้การคุ้มครองสิทธิแก่แรงงานข้ามชาวพม่าที่ทำงานให้กับ โรงงานทออวน(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)เดชาพาณิชย์ ในจังหวัดขอนแก่นแต่อย่างใด เพราะแรงงานต้องทำงานฟรีหรือไม่ได้รับค่าจ้างจำนวนหนึ่งชั่วโมงครึ่งทุกวันในเวลา 17.00-18.30 น เพื่อจ่ายหนี้ค่าหนังสืออนุญาตเดินทาง และยังไม่ได้รับอนุญาตให้ถือหนังสืออนุญาตเดินทางไว้กับตัวเองอีกด้วย เมื่อแรงงาน 6 คนถูกไล่ออกเพราะลางานเกิน 3 วันต่อเดือน พวกเขาร้องขอเอกสารส่วนตัวต่างๆคืนแล้วพบว่าในหนังสือเดินทางหน้าที่มีการประทับตราเข้าออกประเทศหรือวีซ่ามีการเขียนคำว่ายกเลิก “cancel” ด้วยลายมือไว้ นอกจากนั้นบัตรประจำตัวแรงงานทำงานต่างประเทศที่ออกให้โดยกระทรวงแรงงาน สหภาพเมียนมาร์ ก็สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงกล่าวคือรูปภาพและชื่อบุคคลไม่ตรงกันและ รอยประทับตราตรงมุมรูปก็เป็นเส้นไม่ต่อเนื่องกัน แรงงานทั้ง 6 คนนี้กำลังเผชิญกับการถูกส่งกลับซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นโดยเร็วนี้ด้วยการสนับสนุนของนายจ้าง, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานจัดหางาน

แรงงานชาวพม่ากว่า 1,000 คน ในโรงงานได้หยุดงานประท้วงตั้งแต่วันที่ 8 กันยายนเพื่อสนับสนุนแรงงาน 6 คนดังกล่าว และเพื่อการเจรจาร้องทุกข์สำหรับการละเมิดที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนาน แรงงานมีข้อเรียกร้องสำคัญสี่ประเด็นดังนี้

1. เพื่อให้วีซ่าของแรงงาน 6 คน สามารถกลับมาใช้ได้เหมือนเดิม รวมทั้งให้มีการตรวจสอบบัตรประจำตัวแรงงานทำงานต่างประเทศของพวกเขาให้ถูกต้อง

2. เพื่อให้แรงงานทั้งหมดได้รับเอกสารส่วนบุคคลต่างๆคืนไม่ว่าจะเป็นหนังสืออนุญาตเดินทาง, บัตรประจำตัวแรงงานทำงานต่างประเทศและ บัตรอนุญาตทำงาน ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย

3. เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ ในที่พักแรงงานกลับมาเปิดขายสินค้า

4. เพื่อให้มีการจ่ายค่าแรงอย่างเหมาะสมตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าทำงานล่วงเวลา ตามกฎหมายแรงงาน และการหยุดระบบผูกมัดแรงงานด้วยหนี้(ทำงานหนึ่งชั่วโมงครึ่งทุกวันโดยไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลาหนึ่งปี)ในทันที

แรงงานยังไม่ได้พบนายจ้างเพื่อเจรจาข้อเรียกร้อง เพราะในการประชุมวันที่ 9 กันยายน ที่จัดขึ้นระหว่าง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, ตัวแทนนายจ้าง, ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและมูลนิธิMAP ได้มีการเสนอข้อเรียกร้องของแรงงานแต่ยังไม่มีการทำข้อตกลงใด ทางฝ่ายนายจ้างได้ยืนยันว่า ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ยกเลิกวีซ่าของแรงงานดังกล่าว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถทำงานได้อีกและต้องถูกส่งกลับ แต่ในความเป็นจริงการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะยกเลิกวีซ่านั้น นายจ้างจะต้องแจ้งไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้ว สนง.สวัสดิการฯจะต้องแจ้งอย่างเป็นทางการไปยัง กรมการตรวจคนเข้าเมือง และการจะยกเลิกจะต้องระบุเหตุผลรวมทั้งมีลายเซ็นของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจลงนาม แต่ในกรณีนี้ มีเพียงคำว่า “cancel” ได้ถูกเขียนไว้ตรงข้างตำแหน่งประทับตราวีซ่า 2 ปีเท่านั้น

ต่อข้อเรียกร้องข้อที่ 2. นายจ้างได้พยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่การฝ่าฝืนกฎหมายของตนที่ได้ยึดเอกสารส่วนตัวของแรงงานไว้โดยกล่าวว่า หากคืนเอกสารให้แรงงานก็เกรงว่าแรงงานจะหลบหนีไปก่อนที่จะจ่ายหนี้ค่าหนังสือเดินทางครบ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการสนับสนุนระบบการตกเป็นทาสเพราะหนี้สิน นายจ้างยังกล่าวอีกว่า การยึดเอกสารแรงงานไว้จะช่วยทำให้การจัดการเพื่อไปรายงานตัวทุก 90 วันของแรงงานสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่มูลนิธิMAPกับสำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ ทางสนง.จัดหางานก็ได้ให้คำอธิบายในทำนองเดียวกันว่าการยึดบัตรหรือเอกสารต่างๆ ของแรงงานนั้นถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของนายจ้าง ทั้งๆที่การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย

ต่อข้อเรียกร้องข้อที่ 3. นายจ้างได้ยืนยันว่าแรงงานได้รับค่าจ้างมากว่าค่าจ้างขั้นต่ำและยังอ้างว่าไม่ทราบเรื่องระบบการเก็บเงินค่าหนังสือเดินทางจนทำให้แรงงานต้องทำงานโดยไม่ได้รับค้าจ้าง ในขณะที่แรงงานบอกว่าได้รับค่าจ้างเพียงวันละ 140 บาทต่อวัน(ค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดขอนแก่นคือ 157 บาทในการทำงานเวลาปกติ )และยังต้องทำงานเพิ่มอีกวันละ หนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยไม่ได้รับค่าจ้าง แล้วจึงจะได้ค่าทำงานล่วงเวลาอีก 30 บาทต่อการทำงานอีกหนึ่งชั่วโมง

แรงงานกว่า 1,000 คน ยังคงหยุดงานประท้วงต่อไปเพื่อให้ข้อเรียกร้องของพวกเขาได้รับการตอบรับ พวกเขาเข้าใจว่าตัวแทนจากสถานทูตพม่ากำลังเดินทางมาที่จังหวัดขอนแก่น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทางสถานทูตจะให้ความช่วยเหลือในการเจรจาเพื่อสิทธิแรงงานหรือจะส่งกลับแรงงาน ทางมูลนิธิMAPได้ส่งจดหมายขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการไปยังสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแรงงานจะไม่ถูกส่งกลับประเทศพม่าอย่างผิดกฎหมายและกรณีนี้จะได้รับการไต่สวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการยกเลิกวีซ่าโดยปราศจากผู้มีอำนาจลงนาม รวมทั้งเรื่องการเปลี่ยนรายละเอียดในบัตรประจำตัวแรงงานทำงานต่างประเทศ

ทางมูลนิธิMAP มีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยของแรงงานทั้งหมดในโรงงานทออวนเดชาพาณิชย์ โดยเฉพาะความปลอดภัยของแกนนำแรงงาน 6 คนดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้กระบวนการจัดการแรงงานผ่านการทำหนังสืออนุญาตเดินทางและวีซ่าควรให้การคุ้มครองแรงงาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงถึงการถูกใช้เป็นเครื่องมือควบคุมแรงงานและเพิ่มการเอารัดเอาเปรียบแรงงานมากขึ้น แรงงานทุกคนมีสิทธิที่จะหยุดงานประท้วงและสิทธิที่จะนำเสนอข้อร้องทุกข์ของแรงงาน โดยข้อร้องทุกข์ต่างๆจะต้องได้รับการยอมรับและแก้ไข กระทรวงแรงงานควรดำเนินงานอย่างกระตือรือร้นเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสิทธิเหล่านี้ของแรงงานยังสามารถได้รับการคุ้มครองในทั่วผืนแผ่นดินไทย

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

คุณสุริยา (ภาษาไทย) 0897581850

คุณใหม่ใหม่(ภาษาพม่า) 0856159653

คุณรีน่า(ภาษาอังกฤษ) 0828955480